WordPress คือ ระบบ CMS (Content Management System : CMS ) ที่ใช้ในการจัดการเว็บไซต์ หรือ สร้างเว็บไซต์ ในปัจจุบัน WordPress เป็นที่นิยมอย่างมากและในปัจจุบัน มากกว่า 43% ของเว็บไซต์ทั่วโลก สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ผู้ใช้งาน สามารถจัดการและสร้างเนื้อหาเว็บไซต์ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเขียนโค้ด รองรับทั้งเว็บไซต์แบบบล็อก เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ E-Commerce บทความนี้ จะมาบอกว่า wordpress ทําอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์องค์กร และอื่นๆ อีกมากมาย [ในปี 2024]
จุดเด่นของ WordPress
- ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
- มีเทมเพลตและปลั๊กอินให้เลือกใช้งานมากมาย
- ปรับแต่งได้หลากหลาย ยืดหยุ่น
- ดีต่อการทำ SEO
- มีชุมชนผู้ใช้ขนาดใหญ่
- มีเว็บไซต์ที่ทำจาก WordPress มากกว่า 43% ของเว็บไซต์ทั่วโลก
WordPress ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- WordPress Core: เป็นระบบหลักของ WordPress ประกอบไปด้วยฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานต่างๆ เช่น การจัดการบทความ การจัดการผู้ใช้ และอื่นๆ
- Theme: ธีมหรือเทมเพลตเป็นตัวกำหนดรูปแบบหน้าตาการแสดงผลของเว็บไซต์
- Plugin: ปลั๊กอินเป็นส่วนขยายที่ช่วยเพิ่มฟังก์ชันการทำงานให้กับ WordPress เช่น ระบบติดต่อ ระบบ Gallery รูปภาพ และอื่นๆ
WordPress ทำอะไรได้บ้าง
WordPress สามารถใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น
- เว็บบล็อก: เป็นเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับการเขียนบทความ แชร์เรื่องราวต่างๆ
- เว็บไซต์ธุรกิจ: เหมาะสำหรับการนำเสนอสินค้า บริการ และข้อมูลของธุรกิจ
- เว็บไซต์บริษัท: เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลขององค์กรหรือบริษัท หน่วยงานต่างๆ
- เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์: เว็บไซต์สำหรับขายสินค้าออนไลน์ สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้โดยใช้ WooCommerce
- เว็บไซต์แสดงผลงาน: เหมาะสำหรับการนำเสนอผลงาน ตัวอย่างผลงาน หรือผลงานที่ผ่านมา
WordPress.com กับ WordPress.org ต่างกันอย่างไร?
ทางเราได้สรุปความแตกต่างระหว่าง WordPress.com และ WordPress.org มีดังต่อไปนี้
1. รูปแบบการใช้งาน:
- WordPress.com: เป็นบริการโฮสติ้งแบบรวม (all-in-one) ผู้ใช้สามารถสร้างเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องมีเว็บโฮสติ้ง
- WordPress.org: เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งบนเว็บโฮสติ้งของตัวเอง
2. ค่าใช้จ่าย:
- WordPress.com: มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน แพ็กเกจแบบเสียเงินจะปลดล็อกฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น การใช้ชื่อโดเมนของคุณเอง พื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น และการเข้าถึงปลั๊กอินพรีเมียม
- WordPress.org: ซอฟต์แวร์ฟรี แต่ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าเว็บโฮสติ้งและชื่อโดเมนเอง
3. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน:
- WordPress.com: ผู้ใช้มีการควบคุมเว็บไซต์น้อยกว่า WordPress.org ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถติดตั้งปลั๊กอินบางตัวหรือแก้ไขโค้ดของเว็บไซต์ได้
- WordPress.org: ผู้ใช้มีอิสระในการควบคุมเว็บไซต์ทั้งหมด สามารถติดตั้งปลั๊กอินและแก้ไขโค้ดได้ตามต้องการ
ทำไมต้องใช้ WordPress ทำเว็บไซต์
มีหลายเหตุผลว่าทำไม WordPress ถึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการสร้างเว็บไซต์ ข้อดีของ WordPress มีเยอะมากครับ เราขอยกตัวอย่างมาคร่าวๆ ดังนี้
- ใช้งานง่าย: WordPress มีอินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่ใช้งานง่ายซึ่งแม้แต่ผู้เริ่มต้นก็สามารถใช้งานได้ เข้าใจ. ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ดใดๆ
- มีเทมเพลตและปลั๊กอินเยอะมาก: มีเทมเพลต WordPress มากมายให้เลือก ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนรูปลักษณ์และความรู้สึกของเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย ปลั๊กอิน WordPress ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มคุณสมบัติและการทำงานเพิ่มเติมให้กับเว็บไซต์ของคุณได้ เช่น แบบฟอร์มติดต่อ ระบบขายสินค้า ระบบแกลเลอรีรูปภาพ และอื่นๆ
- ปรับแต่งได้ ไม่จำกัด: WordPress สามารถปรับแต่งได้สูง คุณสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ ตั้งแต่การออกแบบเค้าโครงไปจนถึงฟังก์ชันการทำงาน
- โครงสร้างดีต่อ SEO: WordPress เป็นมิตรกับ SEO ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ของคุณมีแนวโน้มที่จะปรากฏในอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหา
- ปลอดภัย: WordPress เป็น CMS ที่ปลอดภัยค่อนข้างสูง และมีการอัปเดตความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลาเพื่อปกป้องเว็บไซต์ของคุณจากภัยคุกคาม
- ฟรี: WordPress เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่า License
WordPress มีข้อดี และ ข้อเสียอะไรบ้าง
หลายคนลงสงสัยว่า WordPress นี่น่าใช้งานไหม และ มันมีข้อดี และ ข้อเสีย อะไรบ้างเรามาดูกันครับ
ข้อดีของ WordPress
- ใช้งานง่าย: WordPress มีอินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้
- ฟรี: WordPress เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สามารถใช้งานได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- มีธีมและปลั๊กอินให้เลือกมากมาย: WordPress มีธีมและปลั๊กอินให้เลือกใช้งานมากมาย ผู้ใช้สามารถเลือกธีมและปลั๊กอินที่เหมาะกับความต้องการของเว็บไซต์
- ปรับแต่งได้ง่าย: WordPress สามารถปรับแต่งได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ตามต้องการ
- โครงสร้าง SEO ดี: WordPress รองรับ SEO ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีอันดับที่ดีในเครื่องมือค้นหา
- มีผู้ใช้งานจำนวนมาก: WordPress มี Community ผู้ใช้ที่ใหญ่ ผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือจาก Community ของผู้ใช้ได้ในประเทศไทย เช่น Facebook กลุ่ม WordPress Bangkok
ข้อเสียของ WordPress
- ความปลอดภัย: เนื่องจาก WordPress มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ผู้ใช้จำเป็นต้องอัปเดต WordPress Version และ Plugin Version อยู่เสมอเพื่อให้ไม่มีช่องโหว่เกิดขึ้น
- การทำงานที่ช้าลง: การที่ WordPress สามารถติดตั้ง Plugin เพิ่มได้ ถ้าหากไม่ระวังติดตั้งมากเกินไปจนเกินความจำเป็นอาจทำให้เว็บไซต์ช้าลงตามไปด้วย
- ต้องเรียนรู้การใช้งาน: WordPress อาจมีความยุ่งยากสำหรับผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้งาน
- การสำรองข้อมูล: ผู้ใช้จำเป็นต้องสำรองข้อมูลเว็บไซต์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
ประวัติของ WordPress จาก b2 สู่ WordPress
เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วตอนที่ WordPress ยังเป็นแค่ Fork คือการที่โปรแกรมเมอร์ทำการ Copy โปรแกรมหนึ่ง แล้วพัฒนามันขึ้นมาเป็นอีกโปรแกรม โดยอาจมีคนหลายคนช่วยกันพัฒนา
เมื่อตอนที่ Matt Mullenweg อายุ 18 ปี จากฮิวสตัน รัฐเท็กซัส อเมริกา ลูกชายนักวิศวกรคอมพิวเตอร์ ผู้ชอบการเขียนโปรแกรม ถ่ายรูปและเพลงแจ๊ส ได้เริ่มใช้งาน b2 aka cafelog เพื่อ ที่จะแชร์รูปภาพที่เขาถ่ายตอนไปทริบวอชิงตัน ดีซี บล็อกนี้ชื่อว่า Photomatt.net ซึ่งตอนนี้จะรีไดเร็คไปที่ Official blog ของแมต คือ Ma.tt.
หนึ่งปีต่อมา ผู้เขียน b2 Michel Valdrighi ได้หยุดการอัพเดตแฟลตฟอร์มนี้ แมตเลยได้คัดลอกโปรแกรมเดิมของ b2 เพื่อที่จะได้นำมาพัฒนาใช้ต่อในบล็อกของเขา ในช่วงนั้นแมตยังคงเขียนบล็อกอยู่เสมอ และนี่คือสิ่งที่เค้าพูดในโพส The Blogging Software Dilemma ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของ WordPress เมื่อ 10 ปีที่แล้ว!!
My logging software (meaning b2) hasn’t been updated for months, and the main developer (Michel Valdrighi) has disappeared, and I can only hope that he’s okay. … Fortunately, b2/cafelog is GPL, which means that I could use the existing codebase to create a fork, integrating all the cool stuff that Michel would be working on right now if only he was around… I’ve decided that this the course of action I’d like to go in, now all I need is a name. What should it do? Well, it would be nice to have the flexibility of MovableType, the parsing of TextPattern, the hackability of b2, and the ease of setup of Blogger. Someday, right?
ซึ่งในโพส The Blogging Software Dilemma นี้ ได้มีโปรแกรมเมอร์ท่านนึงมาคอมเม้นท์ตอบแมต คนนั้นก็คือ Mike Little ซึ่งในตอนนี้เป็น WordPress specialist เป็นที่รู้จักอย่างดีของใน WordPress community สังคม WordPress ณ เวลาบ่าย 3 กับ 58 นาที 25 มกราคม 2003 Mike โพสว่า
Matt, If you’re serious about forking b2 I would be interested in contributing. I’m sure there are one or two others in the community who would be too. Perhaps a post to the B2 forum, suggesting a fork would be a good starting point.
ผู้ก่อตั้ง WordPress
Matt Mullenweg มีความสนใจและมุ่งมั่นที่จำทำให้การทำเว็บนั้นง่ายสำหรับทุกคน เขาได้ลองวิธีที่แตกต่างกันมากมายก่อนที่จะลงตัวที่ b2 แต่เนื่องจากว่าอยู่ดีๆ Michel ผู้เขียน b2 ก็หายไปเฉยๆ ไม่อัพเดตและติดต่อก็ไม่ได้อีก แมตก็เลยไม่รู็จะเอายังไงดี ดังนั้นเค้าเลยทำการคัดลอกเอาตัว b2 มาใช้งานซะเลย ซึ่งพูดได้ว่าเขามองเห็นโอกาสและได้คว้ามันไว้ (b2 เป็น GPL ซอฟต์แวร์ ซึ่งหมายความว่าใครก็สามารถใช้โค้ดจากโปรแกรมนี้ได้) ไมค์เห็นด้วยกับแมต แล้วพวกเขาก็ร่วมกันผลักดันให้ WordPress จากที่มีคนใช้ไม่ถึง 10 คน กลายเป็นมหาศาลในทุกวันนี้ ขั้นตอนนี้เรานับได้ว่า Matt Mullenweg และ Mike Little คือผู้เริ่มก่อตั้งสิ่งที่ทุกวันนี้คือ WordPress แต่เดี๋ยวก่อน ยังมีคนสำคัญอีกคน เธอคนนั้นมีชื่อว่า Christine Tremoulet เพราะ แบรนด์ WordPress นี้เป็นไอเดียของเธอ ใช่อยู่ว่าแมตและไมค์เป็นรากฐานสำคัญ แต่หากขาดคริสทีนไปแล้ว ก็คงไม่มีชื่อ WordPress ที่เรารักอย่างทุกวันนี้ (อาจจะเป็นชื่ออื่น แต่เราจะไม่มี WordPress แน่นอน)
WordPress ในช่วงเวลาต่างๆ
วันที่ 1 เมษายน 2003 แมตสร้าง b2 fork (ตัว Copy และพัฒนาเพิ่ม) และนำไปไว้บน Sourceforge (ชุมชนและแหล่งรวมโค้ดต่างๆ สำหรับนักพัฒนา) ซึ่งคริสทีนเพื่อนของเขาตั้งชื่อให้ว่า WordPress จากตรงนี้ แมตให้ความทุ่มเทไปที่การใช้ html เป็นหลัก อย่างที่เราเคยบอกว่าเขาต้องการใช้มันเป็นอะไรที่เรียบง่ายที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะ PHP หรือ MySql เขาได้พุ่งเป้าไปที่การใช้งาน XHTML เพื่อที่จะทำให้ WordPress ทำงานได้ดีบนบราวเซอร์หรือเครื่องมือทุกชนิด นั่นแปลว่าเขาต้องตัดบางแท็กและและปรับแต่ง b2 3 สัปดาห์หลังจากนั้น ไมค์ได้ทำการเพิ่มไฟล์บางตัวเข้าไปใน b2 เพื่อเพิ่มสิ่งที่ขาดหายไป ณ จุดนี้ เป็นการเข้าร่วมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไมค์ ซึ่งทำให้มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า excerpt ใน WordPress ทำให้ผู้เขียนสามารถที่จะเพิ่มบทนำย่อๆ เกี่ยวกับบทความนั้นๆ ใน RSS feeds หรืออื่นๆ ในขณะเดียวกันนั้น แมตก็ได้เพิ่มฟีเจอร์ WP-Texturize ซึ่งทำให้การแสดงผลถูกต้องมากยิ่งขึ้นให้กับ WordPress ตามคำบอกเล่าของ Siobahn McKeown ในเดือนเดียวกันนั้น แมตได้เปิดตัวเว็บไซต์ WordPress.org ซึ่งมี support furums, documentatio, development blog โดยที่หน้า Home นั้นได้มีข้อความนี้
นี่นับเป็นจุดมุ่งหมายอย่างแท้จริงของ Matt Mullenweg
WordPress is Born—Version 0.7—May 27, 2003
แล้ว WordPress.org ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในชุมชน WordPress เว็บไซต์ได้ทำให้ผู้ใช้งานทำความเข้าใจกับมันได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ลอง WordPress ก็มักจะตื่นเต้นและเริ่มหมกมุ่นกับมัน สังคมของ WordPress เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มของบล็อกเกอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่นักพัฒนาเว็บไซต์
Support forums หรือเว็บบอร์ดสนับสนุนก็เติบโตขึ้นเช่นกันเพราะคำถามและผู้ต้องการคำแนะนำ มากมาย ดังนั้น WordPress documentation หรือคู่มือ WordPress อย่างเป็นทางการจึงได้เกิดขึ้นหลังจากเจ็ดเดือนต่อมาเมื่อ WordPress Wiki เปิดตัว Wiki เติดโตอย่างรวดเร็วเพราะทุกคนรู้สึกว่ามันมีข้อมูลอีกมากมายที่จะบรรจุลงเป็นคู่มือ Wiki สร้างจาก MediaWiki สคริปต์ เดียวกันที่ใช้สร้างโปรเจค Wikipedia หลังจากนั้น WordPress Wiki (วิกิพีเดียในแบบฉบับของ WordPress) ก็ได้ถูกสร้างขึ้น โดยเรียกว่า Codex ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก Monkinetic จากในห้องแชทของ WordPress เอง
แมตและไมค์ได้ทำให้ WordPress เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางใน Sourceforge มีการสร้างฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เช่น Administration panel,improvements to the installation process, Mike’s b2links hack, และ WordPress’ branding. ไมค์และแมตพยายามสร้างให้ WordPress นั้นง่ายต่อการติดตั้ง และนี่เองก็เป็นจุดเด่นของ WordPress ในขณะนั้น เพราะว่าแต่เดิม b2 ของมิเชลนั้นมีการตั้งค่าที่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป จากคำพูดของเจ้าตัวเอง แมตในตอนที่เค้าพัฒนา b2 นั้นเป็นตอนที่เค้ายังอยู่ในช่วงเรียนรู้ PHP อยู่เลย กล่าวได้ว่าในตอนแรกนั้นแมตและไมค์ต้องทำงานหนักอย่างมากในการปรับปรุงโค้ด ของมิเชล ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่แมตประกาศว่าเขาจะทำการ fork b2 นั้น b2 ก็มี fork อื่นอยู่แล้ว รวมทั้ง b2evolution ซึ่ง fork โดย Francois Planque นักพัฒนาจากฝรั่งเศส และ b2++ ซึ่ง fork โดย Donncha O Caoimh จาก ไอร์แลนด์ ซึ่งพยายามพัฒนาระบบเทมเพลตซึ่งจะแยกโค้ดออกจากการแสดงผล ซึ่งนี่ย่อมช่วยให้ง่ายต่อผู้ใช้งานในการปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ของพวก เขา แมตรู้สึกว่าระบบเทมเพลตของ Donncha นั้นยากมากเกินไป เขาไม่ต้องการที่จะให้มันเป็นปัญหากับผู้ใช้ ดังนั้นระบบเทมเพลตของ WordPress จึงไม่เกิดขึ้น
จนกระทั่งปี 2005 เนื่องจากมีการ fork เกิดขึ้นมากมาย มิเชลจึงได้ตัดสินใจแตกแขนง WordPress จาก b2 อย่างเป็นทางการ ซึ่งก็คือวันที่ 23 พฤษภาคม 2003 และ 4 วันต่อมา 27 พฤษภาคม 2003 WordPress 0.7 ซึ่งเป็น WordPress เวอร์ชั่นแรกก็เปิดตัว ในขณะที่โค้ดส่วนใหญ่ยังเป็นของ b2 ผู้ใช้งานได้มีฟีเจอร์ใหม่ๆ รวมทั้ง WordPress Links Manager ที่ช่วยให้บล็อกเกอร์สามารถสร้าง blogrolls ได้ การเปิดตัวของ WordPress 0.7 ทำให้จำนวนผู้ใช้ WordPress มีมากขึ้น 29 พฤษภาคม 2003 แมตได้เชิญให้ Donncha รวมเอา b2++ ของเขาเข้ากับ WordPress และด้วยความยินดีของ Donncha เองด้วย ตอนนี้มี 3 คนที่พัฒนาร่วมกันแล้ว Francois คืออีกคน แต่เขากลับไม่ค่อยแสดงความสนใจ และเขารู้สึกว่า WordPress นั้นไม่คุ้มค่า “… too much work for too little benefit”
แมตนั้นเป็นนักวิจัยที่ฉลาด เขาเข้าไปดูใน b2 forums เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า อะไรคือสิ่งที่บล็อกเกอร์และนักพัฒนาชอบเกี่ยวกับมัน เมื่อ WordPress 0.71 ถูกปล่อยออกมา 1 เดือนหลังจาก WordPress 0.7 บั๊กและปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยก็ถูกแก้ไข และ OPML ก็ถูกเพิ่มเข้ามา ในปีเดียวกัน (2003) Alex King และ Dougal Campbell ได้ เข้าร่วมกับ WordPress โดย Dougal ได้เข้าร่วมครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน เขาได้ทำการปรับปรุงฟังชั่น RSS โดยการใช้ HTTP 304 Response เพื่อลดเซิฟเวอร์โหลด ทำให้ WordPress ทำงานได้เร็วขึ้น Alex มาเป็นนักพัฒนาร่วมในเดือนสิงหาคม 2003 แต่คำแนะนำของเขาเกี่ยวกับการรอบล้อมคอนเท้นด้วยแท็ก HTML นั้นไม่เคยได้ใช้ เนื่องจากในขณะนั้นมันได้ถูกแทนที่ด้วยระบบปลั๊กอิน ปลายปี 2003 แมตได้ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ “b2” เป็น “wp-” ซึ่ง Alex เรียกว่าเป็น The Great Renaming หรือการเปลี่ยนชื่อที่เยี่ยมที่สุด The “great renaming” ทำให้เกิดประเด็นมากมาย แต่นั้นก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่ออนาคตของ WordPress แมตยังได้รวบรวมไฟล์จำนวนมาก เข้าไปไว้ในโฟลเดอร์ wp-admin และ wp-includes อีกด้วย เมื่อจะสิ้นปี 2003 Ryan Boren ก็ได้ เข้าร่วมด้วย เขาเคยเป็นนักพัฒนาร่วมของโปรเจค open source หลายอัน เช่น Linux kernel และ Gnome การเข้าร่วมของเขานำ WordPress เข้าสู่การพัฒนาระบบปลั๊กอิน
แมตเป็นคนแรกที่สร้างปลั๊กอิน the blogtimes plugin ซึ่ง ช่วยสร้างรายงานเมื่อบทความถูกสร้างเรียบร้อย ก่อนหน้านั้น เขาได้ทำการพัฒนา Hello Dolly ปลั๊กอิน เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการใช้ปลั๊กอินใน WordPress ซึ่งปัจจุบันนี้เราก็จะยังเห็น Hello Dolly อยู่ในเป็นปลั๊กอินตั้งต้นของทุกการติดตั้งของ WordPress ในเดือน เมษายน 2004 ปีนึงหลังจากการเปิดตัว WordPress ก็เป็นสังคมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นักพัฒนาได้ปล่อยตัว WordPress 1.2 ซึ่งเป็นการเผยให้เห็นถึงการปรับปรุงหลักๆ ของ WordPress และต้องขอขอบคุณ Six Apart บริษัทผู้เป็นเจ้าของ Movable Type โปรแกรมที่ผู็คนใช้กันในตอนนั้นที่คิดค่าลิขสิทธิ์ ทำให้ WordPress ที่เปิดให้ใช้ฟรีจากมียอดดาวน์โหลดที่ 8,000 ครั้งในเดือน เมษายน พุ่งเป็น 19,000 ครั้งในพฤษภาคม เพียงเดือนเดียวเท่านั้น!
ระบบธีมที่เราใช้ทุกวันนี้เปิดตัวในปี 2005 ซึ่งรวมอยู่ใน WordPress 1.5 ฉายา “Strayhorn” ส่วนตัวตต่อผู้ใช้ (UI = User Interface), Persistent caching และ User roles แบบใหม่ก็ได้ถูกเพิ่มเข้ามาใน WordPress 2.0 Duke ปีเดียวกัน คุณสังเกตุหรือเปล่าว่า WordPress แต่ละเวอร์ชั่นนั้นตั้งชื่อตามนักร้อง Jazz ระดับตำนาน ปี 2006 เป็นปีที่ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเหมือนปีก่อนๆ ไม่มีการเวอร์ชั่นใหม่ใดๆ ออกมา แต่นักลงทุนเริ่มทำให้แมตต้องจริงจังมากขึ้น ดังนั้นปี 2006 WordPress ก้มีหุ้นส่วนลงทุนเข้าร่วม นับล้านดอลล่าห์สหรัฐทำให้บริษัทเติบโตขึ้น และมีการลงทุ่นมากขึ้นไปอีกในปี 2008 ซึ่งในขณะนั้น WordPress มีลูกจ้างเพียงแค่ 18 คน เท่านั้นเอง
20 ปีต่อมา หลังจากเวอร์ชั่นแรกเปิดตัว WordPress มีลูกจ้างมากกว่าสองร้อยคน และมีผู้ร่วมพัฒนามากกว่าสองพันคนอยู่ทั่วทุกมุมโลก ขับเคลื่อนมากกว่า 60 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งก็ประมาณ 18% ของเว็บทั้งหมด และยังเพิ่มขึ้นราว 100,000 เว็บไซต์ทุกวัน แพลตฟอร์มได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา
รางวัลที่ Matt’s ผู้ต่อตั้ง WordPress ได้รับ
แมต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพลงแจ๊ส! ได้รับรางวัลมากมาย
ในปี 2007 เขาได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญเป็นอันดับที่ 17 ของโลกอินเตอร์เน็ต โดยนิตยสาร PC World
ในปี 2008 ได้รับรางวัล Information Technology Innovator Award จาก Temple University Fox School of Business Management
ในปี 2009 ได้ปริญญากิตติมศักดิ์ จาก University Philosophical Society ในปีเดียวกันนี้ก็ยังได้รางวัล Overall Best Open Source CMS Award สำหรับการสร้าง WordPress และก็มีรางวัลอื่นๆ ตามมาเรื่อยๆ
ปลายปี 2012 ได้ถูกจัดอันดับอยู่ใน 30 Under 30 ในสาขา Media ของนิตยสาร Forbes นอกจากนี้ แมตยังเป็นที่รู้จักกันดีในด้านการเป็นผู้บริจาคและช่วยเหลือองค์กรณ์ต่างๆ มากมาย อาทิเช่น Free Software Foundation, Innocence Project, Electronic Frontier Foundation และ Archive.org
สรุป
WordPress เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น มีเทมเพลตและปลั๊กอินให้เลือกใช้งานมากมาย รองรับ SEO สามารถทำ SEO ได้ง่าย และมีชุมชนผู้ใช้ขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการสร้างเว็บไซต์หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เว็บบล็อก, เว็บไซต์ธุรกิจ, เว็บไซต์บริษัท,เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์, เว็บไซต์แสดงผลงาน เป็นต้น
อ้างอิง เวิร์ดเพรสภาษาไทย
https://www.wordpressthai.org
หากคุณกำลังมองหา บริษัท รับทำเว็บไซต์ WordPress มืออาชีพ
สามารถติดต่อทำเว็บไซต์ได้ที่ บริษัท ยัวร์ แพลน จำกัด
โทร: 082-981-9392 (Call Center)
อีเมล์: [email protected]
เว็บไซต์: https://www.your-plans.com